ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม

ช่วยค้นหาศัพท์และนิยามศัพท์วิชาการในสาขาการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ประชากรศาสตร์ และสถิติ โดยคณะทำงานนิยามศัพท์ฯ ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

คำนำบันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2558บันทึกการทําศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม ฉบับปี 2547

search

a | b | c | d | e | f | g | h | i | j | k | l | m | n | o | p | q | r | s | t | u | v | w | x | y | z |

| | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | | |
 

การเปลี่ยนผ่านทางการย้ายถิ่น

migration transition

การย้ายถิ่นอันเนื่องมาจากความไม่สมดุลระหว่างประชากรกับทรัพยากร ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งสร้างแรงกดดันให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของประชากร และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมรูปแบบหนึ่งคือ การย้ายถิ่น (migration) ทำให้เกิดการหลั่งไหลของผู้คนจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนผ่านทางการย้ายถิ่นอาจแบ่งออกได้เป็น ๒ ช่วง คือ
๑. เมื่อประชากรในเขตชนบทเพิ่มขึ้นจนเกิดสภาวะแรงงานล้นเกิน ประชากรส่วนหนึ่งจำต้องเคลื่อนย้ายถิ่นที่อยู่ไปสู่พื้นที่อื่นๆ เพื่อหางานทำ หรือ มีชีวิตใหม่ในถิ่นที่อยู่ใหม่ และถิ่นที่อยู่ที่เป็นเป้าหมายในช่วงนี้มักจะเป็นเขตเมืองที่มีโอกาสทำงานมากกว่า กระบวนการนี้เรียกว่า การเปลี่ยนผ่านสภาวะเมือง (urban transition) ซึ่งเกิดจากการย้ายถิ่นจากชนบทสู่เมือง (rural-urban migration) จำนวนมากในช่วงนั้น
๒. ผลจากการย้ายถิ่นจากชนบทเข้าสู่เมืองทำให้ขนาดประชากรในชนบทเหลืออยู่เท่าที่จำเป็นสำหรับการผลิตอาหารและทรัพยากรอื่นๆ เพื่อหล่อเลี้ยงประเทศ ประชากรส่วนใหญ่ย้ายเข้าไปอาศัยอยู่ในเขตเมือง การย้ายถิ่นในช่วงนี้จึงเป็นการย้ายถิ่นจากเมืองสู่เมือง (urban-urban migration) หรือการย้ายถิ่นภายในเมืองนั้นเอง สภาวะการย้ายถิ่นในช่วงตอนนี้เรียกว่าวิวัฒนาการทางการย้ายถิ่น (migration evolution)

พจนานุกรมศัพท์ประชากรศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน

ศัพทานุกรมการวิจัยทางประชากรและสังคม www.popterms.mahidol.ac.th
Copyright © Institute for Population and Social Research, Mahidol University
webmaster : prwww@mahidol.ac.th
Revised: Year 2015